Category Archives: บทความทางทันตกรรม

คำแนะนำหลังขูดหินปูน

              หินปูนหรือหินน้ำลาย เกิดจากคราบจุลินทรีย์ที่อยู่มานาน รวมตัวกับแร่ธาตุจากน้ำลายจนเกิดการแข็งตัวเป็นหินปูน ซึ่งหินปูนเหล่านี้จะเป็นสะสมของเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งจุลินทรีย์ที่อยู่ในแผ่นคราบนี้ก็จะใช้อาหารหรือน้ำตาลที่เรารับประทานไป มาสร้างกรดที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดฟันผุและสารพิษที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการอักเสบที่เหงือก               การที่จะกำจัดคราบหินปูนนี้ ก็ไม่สามารถทำได้ด้วยการแปรงฟันตามปกติ ต้องมาพบทันตแพทย์ เพื่อทำการขูดหินปูน โดยหินปูนสามารถขึ้นได้ทั้งในฟันน้ำนมและฟันแท้คำแนะนำหลัง “การขูดหินปูน” รวมถึงอาการอื่นๆ ที่อาจขึ้นได้ 1. เมื่อขูดหินปูนเสร็จ อาจจะมีอาการเลือดออกตามขอบเหงือก โดยเฉพาะผู้ที่มีหินปูนสะสมปริมาณมาก ๆ ซึ่งเลือดจะหยุดไหลไปเองใน 1-2 ชั่วโมง แต่คนไข้ไม่ควรบ้วนน้ำบ่อย ๆ เพราะจะยิ่งทำให้เลือดหยุดไหลยากขึ้น 2. อาการเสียวฟันหรือระบมที่ขอบเหงือก เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ใน 1-2 สัปดาห์แรก หากเสียวฟันมาก ๆ ควรเลือกใช้ยาสีฟันที่ลดอาการเสียวฟัน 3. การทำความสะอาดช่องปากหลังการขูดหินปูน คนไข้สามารถทำได้ปกติ ด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และควรเลือกใช้แปรงที่ฟันที่มีขนอ่อนนุ่น ปลายเรียว […]

คำแนะนำหลังปรับลวดจัดฟัน

คำแนะนำหลังปรับลวดจัดพัน           การจัดฟัน เป็นการรักษาความผิดปกติ ของการเรียงฟัน และการสบฟัน รวมทั้งปัญหาความผิดปกติของขนาดและความสัมพันธ์ของขากรรไกรต่อใบหน้า เพื่อให้มีการสบฟันที่ดีขึ้นและการบดเคี้ยวอาหารที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งลดความเสี่ยงในการเกิดโรคฟันผุหรือโรคเหงือก อันเนื่องมาจากการทำความสะอาดฟันและเหงือกที่ยุ่งยาก ในบริเวณที่ฟันเรียงตัวผิดปกติ นอกจากนี้ยังอาจช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพจากการที่มีฟันเรียงกันสวยงาม โดยปกติแล้วการจัดฟันจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปีครึ่ง – 3 ปี หลังจากที่ทันตแพทย์ได้ทำการติดเครื่องมือจัดฟันแล้ว ก็จะทำการนัดหมาย โดยส่วนใหญ่จะนัดทุกๆ 1 เดือน เพื่อปรับลวด เปลี่ยนยาง หรือเปลี่ยนชิ้นงาน ขึ้นอยู่กับประเภทของการจัดฟัน โดยหลังจากพบทันตแพทย์แล้ว ควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ 1.ทุกครั้งที่มีการปรับเครื่องมือ ก็จะมีอาการตึงหรือเจ็บ เพราะฟันกำลังมีการเคลื่อนตัวตามแรงดึงของเครื่องมือ ดังนั้นในช่วงนี้ควรเลือกรับประทานอาหารอ่อน เพื่อให้อาการระบมหายเร็วขึ้น 2.อาจมีอาการระคายเคืองในช่องปากตรงบริเวณกระพุ้งแก้ม ให้ใช้ขี้ผึ้งป้ายบริเวณที่ระคายเคือง เพื่อลดอาการเหล่านี้ได้ 3.หากมีอาการเจ็บหรือปวดในช่องปาก สามารถทานยาแก้ปวด เพื่อบรรเทาอาการได้ 4.อาการฟันโยก เป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้หลังการปรับเครื่องมือ โดยจะเป็นอยู่ประมาณ 5-7 วันเท่านั้น 5.หากมีลวดจัดฟันหลุด ให้ใช้ยางลบดันเข้าไปในร่องเครื่องมือขึ้นไป แต่หากไม่แน่ใจให้กลับไปพบทันตแพทย์ 6.ให้ความสำคัญกับการทำความสะอาดช่องปากและเครื่องมือจัดฟัน ต้องดูแลเป็นอย่างดีด้วยการแปรงฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร

การปฏิบัติตัวหลังผ่าฟันคุด

      การผ่าฟันคุดเป็นงานหัตถการทางทันตกรรม ซึ่งภายหลังเสร็จสิ้นการรักษา ทันตแพทย์จะให้กัดผ้าก๊อซไว้แน่นๆที่บริเวณแผล วิธีนี้จะช่วยให้เลือดหยุดและเกิดเป็นลิ่มเลือดขึ้นภายในแผลผ่าฟันคุด ซึ่งจะช่วยให้แผลสมานเร็วขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรคายผ้าก๊อซออกก่อนหากเลือดยังไม่หยุดไหล การปฏิบัติตัว ภายหลังการผ่าฟันคุด 1.กัดผ้าก๊อซแน่นๆ ไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง ห้ามบ้วนเลือดหรือน้ำลาย พยายามกลืน เพื่อป้องกันลิ่มเลือดที่อุดปากแผลหลุดขณะบ้วนน้ำลายหรือเลือด 2.หลังครบเวลาและคายผ้าก๊อซแล้ว อาจมีเลือดซึมออกมาจากแผล ให้พยายามกลืน แต่ในกรณีที่ออกมาจนกลืนไม่ทัน ให้กัดผ้าก๊อซสะอาดต่อไปได้อีก 3.ใช้ความเย็นประคบบริเวณแก้มข้างที่ผ่าฟันคุด ใน 24 ชั่วโมงแรก สามารถจะช่วยลดอาการบวมที่อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่หลีกเลี่ยงการอมน้ำแข็งไว้ในช่องปาก 4.สามารถแปรงฟันได้ตามปกติ โดยอาจจะเลี่ยงบริเวณแผล เพื่อเป็นการลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียภายในช่องปาก ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการบวมหรืออักเสบได้ อย่างไรก็ตามอาจมีอาการปวดหรือบวมได้เป็นปกติ ประมาณ 3-4 วันหลังการผ่าฟันคุด แต่ถ้ามีอาการปวดหรือบวมมากขึ้น ให้กลับมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุต่อไป แผลหลังการผ่าฟันคุด มักจะมีการเย็บแผลร่วมด้วย ดังนั้นจึงควรกลับมาพบทันตแพทย์ตามนัด เพื่อทำการตัดไหมต่อไป

ดูแลช่องปากอย่างไรเมื่อใส่สะพานฟัน

ดูแลหลังใส่สะพานฟัน            สะพานฟัน คือ ฟันปลอมบางส่วนติดแน่น ใช้ทดแทนฟันธรรมชาติที่หายไป 1-2 ซี่ขึ้นไป โดยไม่ต้องมีตะขอหรือแผ่นอะคริลิคให้เกะกะภายในช่องปาก โดยฟันปลอมชนิดนี้ จำเป็นจะต้องมีฟันซี่ข้างเคียงทั้งสองข้าง เพื่อที่จะใช้เป็นฟันหลักยึดสะพานฟัน เป็นฟันปลอมแบบติดถาวร ไม่สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้และอาจจะให้ความรู้สึกเหมือนเป็นฟันธรรมชาติ ดังนั้นมาดูขั้นตอนการทำความสะอาดช่องปาก เมื่อต้องใส่สะพานฟันกัน แปรงฟันอย่างถูกวิธี อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดโรคเหงือกอักเสบ ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันทั่วไปตามปกติ แต่บริเวณใต้ซอกของสะพานฟัน ต้องใช้ที่ร้อยไหมขัดฟัน (Floss Threader) หรือใช้ Superfloss ช่วยในการทำความสะอาดฟันร่วมด้วย ตรวจฟันโดยทันตแพทย์ ทุก 6 เดือน พยายามหลีกเลี่ยงการทานอาหารหวานหรือขนมขบเคี้ยว แต่ถ้าทานแล้ว ก็ควรที่จะแปรงฟันหลังทานขนมด้วย ควรเน้นทานผักและผลไม้เป็นประจำ เพราะมีเส้นใยอาหาร ช่วยทำความสะอาดฟัน ซึ่งสามารถช่วยลดการอักเสบของเหงือกได้ทางหนึ่งด้วย

ข้อควรปฏิบัติหลังฟอกสีฟัน

ข้อควรปฏิบัติหลังการฟอกสีฟัน             โดยปกติแล้ว ฟันของเราจะมีสีขาวอมเหลือง โดยสีเหลืองนั้นเป็นสีของชั้นเนื้อฟัน ซึ่งอยู่ใต้ต่อชั้นเคลือบฟัน ที่มีสีขาวใส ซึ่งสีของชั้นเนื้อฟันนั้นเกิดจากเม็ดสีและมักสะสมมากขึ้นตามอายุ ทำให้ฟันเราดูเหลืองเข้มขึ้นได้ นอกจากนี้ฟันเราจะเข้มขึ้นได้จากการสะสมคราบจากปัจจัยภายนอกซึ่งเป็นผลมาจากการรับประทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มบางชนิด เช่น ชา กาแฟ คราบบุหรี่ เป็นต้น             เราสามารถกำจัดคราบฟันที่เกิดจากปัจจัยภายนอก ด้วยการแปรงฟันหรือพบทันตแพทย์เพื่อทำการขูดหินปูนและขัดคราบเหลืองที่ติดบนผิวฟันออกไป ส่วนเม็ดสีที่สะสมในตัวฟัน ก็จะสามารถใช้วิธีการฟอกสีฟัน ซึ่งจะช่วยให้คุณมีรอยยิ้มที่ขาวสดใสมากขึ้นอย่างไรก็ตาม เราควรปฏิบัติตัวหลังการฟอกสีฟัน ดังต่อไปนี้ เพื่อคงสภาพความขาวของฟันให้ได้นานยิ่งขึ้นได้   1.งดเครื่องดื่มที่มีสีเข้ม เช่น ชา กาแฟ ไวน์แดง ฯลฯ ภายใน 2 วันหลังฟอกสีฟัน 2.งดรับประทานอาหารที่มีรสจัดและมีสีจัดจ้าน เช่น แกงส้ม แกงไตปลา มัสมั่น ภายใน 2 วันหลังฟอกสีฟัน 3.รับประทานอาหารรสชาติอ่อน และไม่มีสีหรือมีสีไม่จัดจนเกินไป 4.หลังจากระยะเวลา […]

การปฏิบัติตัวหลังถอนฟัน

การถอนฟันถือเป็นทางเลือกสุดท้ายหลังจากทันตแพทย์พิจารณาหรือพยายามรักษาด้วยวิธีอื่นเพื่อเลี่ยงการถอนฟันแล้วแต่ไม่ได้ผล หรือเมื่อมีความจำเป็นต้องถอนฟัน ได้แก่ การติดเชื้อหรืออักเสบของฟันเนื่องจากการมีฟันผุลึกถึงโพรงประสาทฟัน มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ภาวะภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอที่อาจเป็นผลจากการรับยาเคมีบำบัดหรือยากดภูมิคุ้มกันจะทำให้ฟันที่ผุอยู่แล้วมีโอกาสผุยิ่งขึ้น ฟันซ้อนที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดฟัน เพื่อให้ฟันสามารถขยับเรียงตัวอย่างสวยงามได้ เมื่อทันตแพทย์พิจารณาที่จะถอนฟัน ดังนั้นหลังการถอนฟัน ควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้1. กัดผ้าก๊อซแน่นๆ ไว้บริเวณแผลถอนฟัน ประมาณ 1 ชั่วโมง มีเลือดหรือน้ำลายให้กลืน ห้ามดูดแผล หรือเลือด ห้ามบ้วนน้ำ หรือน้ำลาย จนกว่าเลือดจะหยุดไหล2.เมื่อครบ 1 ชั่วโมง ให้คายผ้าก็อซออก หากยังมีเลือดไหลอยู่ให้เปลี่ยนอันใหม่ ก่อนเปลี่ยนให้ล้างมือให้สะอาดเพื่อ ป้องกันการติดเชื้อ ห้ามเอาลิ้นหรือวัตถุแข็งๆ ไปเขี่ยหรือรบกวนแผล เพราะอาจจะทำให้ลิ่มเลือดที่แข็งตัวหลุดออกมา ทำให้มีเลือดไหลออกมาจากแผลซ้ำอีก 3.ยาชาจะมีฤทธิ์ 1-2 ชั่วโมง หากมีอาการปวดให้ทานยาตามที่ทันตแพทย์สั่ง4.เพื่อลดอาการบวมหลังถอนฟัน ในวันแรกสามารถประคบความเย็น โดยใช้ถุงน้ำแข็งห่อผ้าไว้ แล้วนำไปประคบตรงแก้มบริเวณที่ถอนฟัน ส่วนวันถัดไปให้ทำการประคบอุ่นแทน และหลีกเลียงการแปรงฟันบริเวณแผล 1-2 วัน5. ควรงดสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในช่วง 2-3 วันแรงหลังการถอนฟัน

อุดฟันด้วยเซรามิกดีอย่างไร

          ในปัจจุบันเซรามิกได้รับการพัฒนาให้มีคุณสมบัติทางกายภาพที่ดี มีความแข็งแรงมากขึ้น จนสามารถนำมาใช้ในการบูรณะบริเวณฟันหลังได้ ทำให้เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับความสวยงาม 1.เป็นทางเลือกหนึ่งของการรักษาโรคฟันผุ ในกรณีที่รอยผุมีขนาดใหญ่มาก ไม่สามารถได้อุดฟันด้วยวัสดุทั่วไปได้ แต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะต้องทำครอบฟัน การอุดฟันด้วยชิ้นงานเซรามิกก็จะเป็นทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสม 2.คุณสมบัติของเซรามิกจะไม่เปลี่ยนสีตามอาหารหรือเครื่องดื่มที่รับประทานเป็นประจำ ไม่เหมือนกับวัสดุอุดฟันทั่วไปที่มีโอกาสเปลี่ยนสีได้ 3.เป็นการอุดฟันที่มีมาตรฐานและมีความแนบสนิทสูง เนื่องจากภายหลังการกรอกำจัดรอยผุรวมถึงการจัดเตรียมโพรงฟันแล้ว จะต้องมีการพิมพ์ฟันแบบละเอียดและส่งแลป เพื่อทำชิ้นงานขึ้นมาเฉพาะบุคคล 4.ชิ้นงานเซรามิกจะมีความแข็งแรงและรองรับแรงบดเคี้ยวได้ดี มีประสิทริภาพกว่าวัสดุอุดฟันทั่วไป และที่สำคัญมีอายุการใช้งานที่สูงกว่าวัสดุอุดฟันทั่วไปงานอุดฟันด้วยชิ้นงานเซรามิกจำเป็นจะต้องใช้ความชำนาญสูง มีขั้นตอนในการรักษาที่ละเอียด แนะนำให้ทำกับทันตแพทย์เฉพาะทางโดยตรง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์หลังการรักษาที่ดีที่สุด

คำแนะนำระหว่างรักษารากฟัน

       การรักษารากฟัน คือ กระบวนการกำจัดเนื้อเยื่อในโพรงฟันและคลองรากฟันที่มีการติดเชื้อ และอักเสบ ร่วมกับการล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาในคลองรากฟันเพื่อทำให้ปราศจากเชื้อโรคหรือลดจำนวนเชื้อให้มากที่สุด จากนั้นจึงอุดคลองรากฟันและบูรณะตัวฟันเพื่อความแข็งแรงและสวยงามให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติสาเหตุส่วนใหญ่ของฟันที่ต้องได้รับการรักษารากฟัน เป็นฟันที่ผุลึกมากจนทะลุโพรงประสาทฟัน ฟันที่ร้าว แตกหัก หรือสึกจนทะลุโพรงประสาทฟัน และฟันที่ได้รับแรงกระแทกจากอุบัติเหตุ ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่ทำให้มีเชื้อโรคเข้าไปในโพรงประสาทฟันและทำให้เกิดการติดเชื้อของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟันได้การรักษารากฟันเป็นงานที่ต้องใช้เวลาในการมาพบทันตแพทย์หลายครั้ง ดังนั้นจึงต้องมีการดูแลระหว่างการรักษารากฟัน ดังต่อไปนี้   1. หลังรักษารากฟันเสร็จยังไม่ควรรับประทานอาหารทันมี ควรรอให้ยาชาหมดฤทธิ์ก่อน 2. ระหว่างรอนัดการรักษารากฟันครั้งถัดไป ทันตแพทย์จะอุดฟันด้วยวัสดุอุดฟันชั่วคราว ซึ่งสามารถหลุดได้ จึงควรระมัดระวังในการบดเคี้ยวอาหารหรือควรเลือกรับประทานอาหารที่เคี้ยวง่าย แต่หากพบว่ามีวัสดุอุดฟันหลุดออกจากฟันที่ทำการรักษารากฟันอยู่ ให้รีบไปพบทันตแพทย์เพราะเชื้อโรคที่อยู่ในช่องปากจะเข้าสู่คลองรากฟันที่กำลังรักษาอยู่ ส่งผลให้ต้องใช้เวลาในการรักษาเพิ่มขึ้นได้ 3. การทำความสะอาดช่องปาก สามารถทำได้ปกติ ซึ่งคนไข้ควรดูแลความสะอาดช่องปากเป็นอย่างดี อยู่เสมอ ด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟันและน้ำยาบ้วนปากอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง 4. การรักษารากพันมีกระบวนการที่ชับช้อนและต้องรักษาต่อเนื่อง คนไข้หลายรายไม่ยอมมาตามนัดหมาย เพราะคิดว่าหายปวดและได้รับการอุดฟันแล้ว ซึ่งความจริงแล้ว ในคลองรากฟันเป็นแค่ยาฆ่าเชื้อและอาการอักเสบก็ยังไม่หมดไป รวมทั้งการอุดฟันยังเป็นแค่การอุดฟันแบบชั่วคราวเท่านั้น วัสดุอุดฟันจะหลุดเมื่อไรก็ได้ ซึ่งหากไม่ไปทำการรักษาต่อ คนไข้อาจต้องสูญเสียฟันซี่นั้นไปเลยก็ได้

คำแนะนำหลังการเกลารากฟัน

                การเกลารากฟัน เป็นการรักษาโรคปริทันต์ โดยการกำจัดหินปูนที่สะสมอยู่ใต้เหงือก ซึ่งคราบหินปูน เกิดจากแผ่นคราบจุลินทรีย์ที่สะสมรอบๆฟันเป็นเวลานาน ซึ่งจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในแผ่นคราบนี้ ก็จะใช้น้ำตาลที่เรารับประทานไป มาสร้างกรดที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดฟันผุและสารพิษที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการอักเสบที่เหงือก สังเกตได้จากเหงือกมีสีแดง บวมและเลือดออกง่าย เมื่อปล่อยให้คราบหินปูนอยู่นานๆ โดยไม่กำจัดออก ก็จะสะสมและค่อยๆ ขยายตัวลงไปเกาะที่บริเวณรากฟันใต้เหงือกได้ด้วย ซึ่งเราจะไม่สามารถมองเห็นหินปูนใต้เหงือกเหล่านี้ได้การที่จะกำจัดคราบหินปูนนี้ ก็ไม่สามารถทำได้ด้วยการแปรงฟันตามปกติ ต้องมาพบทันตแพทย์ เพื่อทำการขูดหินปูนและเกลารากฟัน คำแนะนำหลังการเกลารากฟัน 1. หลังจากเกลารากฟันเสร็จอาจจะมีอาการเสียวฟันได้ ดังนั้นก่อนและหลังจากเกลารากฟัน คนไข้ควรใช้ยาสีฟันที่ช่วยลดอาการเสียวฟันเพื่อบรรเทาอาการดังกล่าว ซึ่งปกติแล้วอาการจะหายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์ 2. หลังการเกลารากฟัน อาจมีเลือดซึมๆ ออกมาที่ขอบเหงือกและมีอาการบวม ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ 3. ทันตแพทย์จะนัดมาตรวจและเกลารากฟันอีกครั้ง คนไข้ต้องมาตามนัด 4. รักษาความสะอาดช่องปากอยู่เสมอ ด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟันและน้ำยาบ้วนปากอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เพื่อลดการเกิดคราบหินปูนให้น้อยที่สุด 5. นัดพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน […]

คำแนะนำหลังทำรากฟันเทียม

คำแนะนำหลังการทำรากฟันเทียม             การผ่าตัดฝังรากเทียมเป็นการรักษาเพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่เสียไปด้วยรากฟันเทียมโลหะ โดยมีรูปร่างคล้ายสกรู เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการรักษาสามารถทดแทนรากฟันที่ขาดหายได้อย่างใกล้เคียงฟันธรรมชาติ หลังจากนั้น ทันตแพทย์ทำการบูรณะด้านบนของรากฟันเทียมต่อ ซึ่งอาจจะเป็น ครอบฟัน, สะพานฟัน หรือฟันปลอม ขึ้นอยู่กับจำนวนฟันที่สูญเสียและความต้องการของคนไข้ ซึ่งหลังจากทดแทนฟันเรียบร้อยแล้ว ควรปฏิบัติตัวดังนี้ 1. รักษาความสะอาดช่องปากอยู่เสมอด้วยการแปรงฟันอย่างถูกวิธี อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง 2. ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันเป็นประจำ วันละ 1-2 ครั้ง โดยเฉพาะซี่ที่เป็นรากฟันเทียม 3. หลีกเลี่ยงการใช้ฟันที่ทำรากฟันเทียมมาเคี้ยวอาหารที่มีความแข็ง เหนียว แม้รากฟันเทียมจะยึดกับกระดูกเรียบร้อยแล้ว แต่เราก็ไม่ควรให้ฟันซี่นั้นกระทบกระแทกอะไรแรงๆ เพราะอาจเกิดอันตรายต่อรากฟันเทียมได้ 4. พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและตรวจรากฟันเทียมที่ได้ทำไว้ด้วยเป็นประจำ 5. หากดูแลรักษาความสะอาดช่องปากไม่ดี เหงือกที่อยู่โดยรอบก็สามารถเกิดการอักเสบได้เหมือนฟันธรรมชาติ หากปล่อยให้เหงือกอักเสบรุนแรงขึ้น กระดูกโดยรอบฟันก็จะถูกทำลาย ทำให้รากฟันเทียมเกิดการโยก และหลุดในที่สุด ดังนั้นการดูแลความสะอาด และตรวจสุขภาพช่องปากอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก

ย้อนกลับด้านบน