รักษารากฟัน

          รักษารากฟัน ก่อนที่ฟันจะหายไป ปัญหาสุขภาพของช่องปากและฟัน ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่เราไม่ควรละเลย โดยเฉพาะอาการปวดฟัน และเสียวฟัน ที่จะส่งผลทำให้เกิดฟันผุ เมื่อเราไม่ยอมไปทำการรักษา หรือว่าอุดฟัน การปล่อยปละละเลยจนทำให้ฟันผุ ฟันแตกเรื้อรัง อาจจะต้องรักษารากฟัน เพราะว่าฟันผุรุนแรงจนทะลุไปถึงโพรงประสาท ทำให้เกิดการอักเสบ เป็นฝีที่รากฟันและเป็นหนอง มีอาการปวดทรมาน จนไม่สามารถจะรักษาด้วยการอุดฟันได้ อีกทั้งยังทำให้ลุกลามไปสู่ฟันซี่อื่น ๆ และสุดท้ายเราอาจจะต้องสูญเสียฟันซี่นั้นไป หรือฟันซี่ข้างเคียงไปเลยทีเดียว

การรักษารากฟัน คืออะไร

          การรักษารากฟัน เป็นขบวนการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในโพรงประสาทฟันของเรา หรือเนื้อเยื่อขนาดเล็ก ที่อยู่ระหว่างใจกลางของฟัน อันเป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อ, การอักเสบ ของโพรงเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน หากแต่โพรงประสาทฟันในบางส่วนถูกทำลายแล้วจะต้องทำการเอาออก เพื่อเป็นการรักษาฟันและทำความสะอาดฟันในส่วนที่เหลือให้ปราศจากเชื้อโรค และทำการซ่อมแซม อุดคลองรากฟันและการบูรณะตัวฟัน เพื่อช่วยคืนความแข็งแรงและสวยงาม ให้กับฟันได้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ ฉะนั้นการรักษารากฟัน จึงเป็นวิธีที่ช่วยให้เราไม่จำเป็นจะต้องถอนฟันออกไป ซึ่งวิธีการนี้สามารถช่วยรักษาฟันไว้ได้

ลักษณะรากฟันที่เกิดปัญหา

          เมื่อรากฟันเกิดปัญหาผิดปกติ มักจะมีสัญญาณเตือนด้วยอาการค่าง ๆ เช่น เจ็บเวลาเคี้ยวอาหาร หรือกัดอาหาร และเวลาดื่มเครื่องดื่มที่ร้อน หรือว่าเย็น จะรู้สึกฟันหลวมหรือว่าฟันโยก ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่ารากฟันถป็นส่วนหนึ่งในอวัยวะของช่องปากที่สำคัญมาก ซึ่งฟันแต่ละซี่ก็จะประกอบไปด้วยโพรงประสาทฟัน และเป็นส่วนที่คอยรับสัญญาณความรู้สึก ถ้าหากโพรงประสาทฟัน หรือว่าคลองรากฟันเกิดการติดเชื้อขึ้นมา ก็จะทำให้ฟันซี่นั้นตายไป จึงทำให้เกิดอาการแสดงดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น รวมไปถึงบางรายอาจจะมีอาการหน้าบวม, มีน้ำหนองไหลออกจากฟันที่ติดเชื้อ, รากฟันเป็นหนอง หรือว่ามีตุ่มหนองขึ้นที่บริเวณเหงือก สีของฟันก็จะคล้ำลงได้อีกด้วย

การรักษารากฟันมี 2 ประเภทหลัก ๆ คือ

1. การรักษารากฟันด้วยวิธีปกติทั่วไป

          ทันตแพทย์จะทำการตรวจวัดความยาวของคลองรากฟัน โดยวิธีการถ่ายเอกซเรย์แล้วจะใช้ File ขนาดเล็ก เพื่อทำการรักษารากฟัน และทำความสะอาดบริเวณภายในคลองรากฟัน เพื่อเป็นการขจัดเนื้อเยื่อที่เป็นปัญหารวมทั้งเชื้อแบคทีเรียออกให้หมด หลังจากนั้นก็จะใช้วัสดุอุดบริเวณคลองรากฟัน โดยที่ฟันจะไม่ถูกอุดอย่างถาวรจนกว่าจะทำการขจัดเชื้อจนกว่าจะปลอดเชื้อในบริเวณโพรงประสาทและคลองรากฟัน

2. การรักษารากฟันโดยการผ่าตัดปลายรากฟัน

          วิธีนี้จะเลือกใช้ ก็ต่อเมื่อใช้วิธีที่หนึ่งแล้วไม่ประสบความสำเร็จ จึงจะทำการผ่าตัดเข้าไปที่บริเวณตำแหน่งของปลายรากฟันที่เป็นหนอง และทำการตัดปลายรากฟันออกไปบางส่วน ซึ่งในปัจจุบันนี้มีกล้องจุลศัลยกรรมที่สามารถช่วยเพิ่มกำลังขยายในการมองเห็นบริเวณคลองรากฟันที่มีขนาดเล็กให้ชัดเจนได้ยิ่งขึ้น เมื่อทันตแพทย์สามารถมองเห็นได้ชัดเจนก็จะเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวมไปถึงการเพิ่ม ความสำเร็จในการรักษารากฟันให้สูงยิ่งขึ้นไปด้วย และหลังจากนั้นทันตแพทย์จะทำการอุดวัสดุเข้าไปในส่วนของปลายรากฟันที่ทำความสะอาดไว้แล้ว โดยวัสดุนี้จะไม่เป็นพิษต่อเนื้อเยื่อ และจะไม่ทำให้เกิดการเสียหายของเนื้อเยื่อบริเวณรอบ ๆ ปลายรากฟัน


การเตรียมตัวก่อนทำการรักษารากฟัน

  • ก่อนอื่นเมื่อเราไปพบกับทันตแพทย์ และได้รับการวินิจฉัยว่าเรามีฟันผุจนทะลุโพรงประสาท จะต้องทำการรักษารากฟัน ทันตแพทย์จะส่งทันตแพทย์ที่ทำครอบฟันว่าฟันซี่ดังกล่าวสามารถที่จะทำครอบได้หรือไม่ ถ้าหากสามารถทำครอบฟันไม่ได้ ก็จะทำการรักษารากฟันอาจจะไม่มีความหมาย
  • โดยทั่วไปแล้วในการรักษารากฟันจะทำ 2 ครั้ง คือ

    1. การทำความสะอาดโพรงประสาทฟันและคลองรากฟัน โดยการขยายขนาดของบริเวณคลองรากฟัน รวมไปถึงการใช้น้ำยาทำความสะอาดเพื่อเป็นการกำจัดเชื้อโรคออกไปให้หมด

    2. เมื่อโพรงประสาทฟันและคลองรากฟันสะอาดและปราศจากเชื้อโรคแล้ว ทันตแพทย์จะอุดคลองรากฟัน เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อ และถ้าหากเป็นไปได้ทันตแพทย์ก็จะทำเดือยฟัน เพื่อทำเป็นแกนกลางในการเสริมสร้างความแข็งแรงของการทำครอบฟันต่อไป

การปฏิบัติตัวหลังทำการรักษารากฟัน

          หลังจากทำการรักษารากฟันแล้ว ทันตแพทย์จะแนะนำการปฏิบัติตัวหลังทำการรักษารากฟัน แนะนำว่าเราควรจะปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของตัวเราเอง ในการรักษารากฟันให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และสามารถใช้งานได้ยืนยาว ด้วยวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้

  1. ไม่ควรทานอาหารทันที ควรจะงดรับทานอาหารจนกว่าอาการยาชาที่ใช้จะหมดไป เป็นการป้องกันการกัดลิ้นหรือว่ากัดกระพุ้งแก้ม
  2. ควรจะระมัดระวังในการใช้งานฟันซี่ที่ทำการรักษารากฟัน ด้วยการงดเคี้ยวอาหาร หรือว่าการกัดอาหารด้วยฟันซี่ที่ทำการรักษารากฟันอยู่ เพราะอาจจะทำให้ฟันแตกหรือว่าหักได้
  3. ในกรณีที่ใช้วัสดุอุดฟันชั่วคราวเกิดหลุดออก ให้กลับไปพบทันตแพทย์ทันที เพื่อเป็นการป้องกันโรคในช่องปากที่จะเข้าสู่ภายในบริเวณคลองรากฟันได้
  4. ควรจะไปพบทันตแพทย์ตามนัดของทันตแพทย์ เพื่อเป็นการลดโอกาสเสี่ยงที่จะถอนฟันซี่นั้นออกในอนาคต ถ้าหากเราละเลยในการนัดของทันตแพทย์

ตัวอย่างเคส ก่อน-หลัง รักษารากฟัน

ดูตัวอย่างเคส ก่อน-หลัง รักษารากฟัน ทั้งหมด

คำชมจากคนไข้จัดฟัน ในเครือคลินิกทันตกรรม สกายเทรน เด็นทัล กรุ๊ป

คลิก ดูรูปคำชมจากคนไข้ทั้งหมด

วีดีโอน่ารู้เกี่ยวกับการรักษารากฟัน

บรรยากาศในคลินิก

คลิก ดูรูปบรรยากาศภายในคลินิกทั้งหมด
กลับสู่หน้าหลัก