การผ่าฟันคุด
ฟันคุด คือ ฟันกรามซี่สุดท้ายของฟันแท้ ที่ไม่ขึ้นตามปกติ อาจจะขึ้นบางส่วน หรืออาจจะขึ้นไม่ได้เลยทั้งซี่ เป็นเหตุให้ฟันฝังตัวอยู่ในกระดูกบริเวณขากรรไกรในท่าต่าง ๆ กัน เช่น ตะแคงบ้าง, เอียงบ้าง แต่ส่วนมากจะขึ้นในช่วงอายุระหว่า 18-20 ปี หลายคนที่ไปพบกับทันตแพทย์ และตรวจพบว่ามีฟันคุดขึ้น ทันตแพทย์จะแนะนำให้ถอน หรือทำการผ่าออก ถึงแม้ว่าจะไม่มีแสดงอาการออกมาก็ตาม เพราะว่าถ้าปล่อยทิ้งเอาไว้ฟันก็ไม่สามารถขึ้นได้ อาจจะทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ดังนี้
-
- มีคราบหินปูน และเชื้อแบคทีเรียสะสมที่ซอกเหงือกและฟัน
- ทำให้ฟันซี่ข้าง ๆ เกิดการผุได้ง่าย เนื่องจากทำความสะอาดได้ลำบาก
- ทำให้เกิดต่อมน้ำ หรือก้อนซีสในเหงือกได้
- อาจจะก่อให้เกิดอาการ ปวด, บวม และเกิดการอักเสบติดเชื้อได้
ข้อปฏิบัติหลังการผ่าฟันคุด
-
- ต้องประคบด้วยถุงเย็นทันทีหลังการผ่าตัด ประคบไว้ 30 นาที
- ในกรณีที่มีเลือดออกเพียงเล็กน้อย ควรอมน้ำเกลือเย็น ๆ ไว้สักครู่
- สามารถแปรงฟันได้ตามปกติ แต่จะต้องระมัดระวังตรงบริเวณแผล
- ควรทานอาหารอ่อน ๆ เย็น ๆ และรสไม่จัดในช่วงระยะ 2 – 3 วันแรก
- ให้หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- อาการปวดหลังการผ่าสามารถรักษาได้ด้วยการทานยาแก้ปวดที่สั่งโดยทันตแพทย์