ทันตแพทย์ทั่วไป vs ทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟัน ต่างกันอย่างไร

 

คงจะมีหลายท่านที่เกิดความสงสัยและสับสนว่าระหว่างทันตแพทย์ทั่วไป และทันตแพทย์เฉพาะทาง จัดฟันมีความแตกต่างกันอย่างไรเรามีบทความเกี่ยวกับทันตแพทย์ทั้ง 2 ประเภทมาแนะนำ เพื่อให้ท่านได้เข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของทันตแพทย์แต่ละประเภทได้ดีขึ้น และยังเป็นข้อมูลช่วยให้ตัดสินใจก่อนที่ท่านจะทำฟันและจัดฟันได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

  1. ทันตแพทย์ทั่วไป

    จะเน้นไปในเรื่องของการรักษาด้านทันตกรรมเป็นพื้นฐาน รวมทั้งการตรวจฟัน การทำความสะอาดฟัน และการอุดฟัน เป็นต้น ซึ่งทันตแพทย์บางแห่งอาจจะทำการรักษาด้านทันตกรรมและจัดฟันไปพร้อมกันนั่นเอง

  2. ทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟัน

    เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านทันตกรรมจัดฟัน เนื่องจากต้องเรียนต่อหลังจากที่จบปริญญาตรีแล้ว โดยต้องใช้เวลาในการเรียนถึง 3 ปี หรืออาจจะนานกว่านั้น เพราะว่าเป็นการเรียนแบบศึกษาเชิงลึกและขั้นสูงกว่าการเรียนทันตแพทย์ทั่วไป ต้องฝึกปฏิบัติการด้านทันตกรรมจัดฟันเพียงอย่างเดียว จึงทำให้มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดฟันโดยเฉพาะ

    ทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาจัดฟัน จะทำหน้าที่ดูแลและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการผิดปกติของโครงสร้างฟัน ขากรรไกร และการสบฟัน โดยเครื่องมือที่ใช้รักษาจะเป็นเครื่องมือทางทันตกรรมจัดฟันโดยเฉพาะ เพื่อให้การจัดฟันมีประสิทธิภาพสูงสุด และทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาจัดฟัน จะช่วยให้คำแนะนำแก่ผู้ที่ต้องการจัดฟันได้ดีกว่าทันตแพทย์ทั่วไป เพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้โดยตรง เช่นเรื่องของโครงหน้าและฟันของแต่ละคนที่แตกต่างกัน ทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟันก็จะให้คำแนะนำที่ต่างกัน หรือหากใครที่มีโรคประจำตัวควรจะแจ้งทันตแพทย์ ก่อนการจัดฟัน ทันตแพทย์ จะเป็นผู้พิจารณาว่าเราสามารถจัดฟันได้หรือไม่ และควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรขณะจัดฟัน เราจะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องตามคำแนะนำของทันตแพทย์ และยังช่วยให้เจ้าหน้าที่และทันตแพทย์ได้เตรียมความพร้อมในการป้องกันหากอาการกำเริ่มระหว่างทำการรักษาหรือจัดฟันด้วย

    ดังนั้นก่อนการจัดฟันเราควรศึกษาข้อมูลของทันตแพทย์ที่เราจะจัดฟันด้วย ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการจัดฟันมีค่าใช้จ่ายและต้องใช้ระยะเวลาในการจัดฟันที่ค่อนข้างนาน หากจัดฟันกับทันตแพทย์ทั่วไปหรือจัดฟันกับผู้ที่ไม่มีความชำนาญด้านการจัดฟัน อาจจะทำให้การจัดฟันของเราไม่ประสบความสำเร็จ เสียค่าใช้จ่ายและเวลาไปโดยสิ้นเปลือง หรือบางกรณีอาจจะก่อให้เกิดอันตรายกับช่องปากของเราได้ เช่น เกิดการติดเชื้อจากการรักษาไม่ถูกวิธีหรือจากเครื่องมือจัดฟันที่ไม่ได้มาตรฐาน เป็นต้น

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ย้อนกลับด้านบน