โรคเหงือก

            เหงือกเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของปริทันต์มีหน้าที่ยึดฟันไว้กับกระดูกขากรรไกร และรองรับแรงในการบดเคี้ยว เหงือกของเราโดยปกติทั่วไปจะมีสีชมพู, ขอบเรียบ, ไม่บวม และไม่มีเลือดออก โรคเหงือกอักเสบ เป็นโรคที่เกิดขึ้นแล้วมักจะไม่แสดงอาการออกมา มีลักษณะเหงือกสีแดง หรืออาจจะมีบวมบ้างเล็กน้อย และสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ ก็คือ (ในขณะที่กำลังแปรงฟันอยู่แล้วมีเลือดออกมา) แต่คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าเกิดจากการแปรงฟันรุ่งแรง หรือการใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงแข็งเกินไป

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น โรคเหงือก

    • ขณะแปรงฟันจะมีเลือดออก หรือเวลาที่ใช้ไหมขัดฟัน
    • ขอบเหงือกแดง และบวม หรือว่านุ่ม
    • ฟันจะดูยาวขึ้น เนื่องมาจากเหงือกร่นลงไป
    • เหงือกไม่ติดกับฟัน เหมือนมีร่อง
    •  เวลาเคี้ยวอาหารฟันจะมีการขยับเขยื้อน
    • บริเวณร่องเหงือกจะมีหนองไหลออกมา
    • มีกลิ่นปาก หรือว่ามีรสชาติแปลก ๆ ภายในปาก

           โรคเหงือกอักเสบ สามารถพบได้บ่อย และสาเหตุทั่วไปที่พบได้มากที่สุด คือ การดูแลช่องปากที่ไม่ดี ถ้าหากพบว่าเป็นเหงือกอักเสบควรไปปรึกษากับทันตแพทย์เพื่อจะได้เข้ารับการรักษาทันที ไม่เช่นนั้นอาจจะนำไปสู่โรคปริทันต์ หรืออาจจะมีอาการอื่น ๆ ที่รุนแรง จนต้องสูญเสียฟันไป

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ

           สาเหตุของโรคเหงือกอักเสบก็คือ มีคราบจุลินทรีย์เกาะที่ฟันและขอบเหงือก ซึ่งเกิดมาจากการสะสมของเชื้อแบคทีเรียที่ปะปนอยู่ในน้ำลายลงบนตัวฟัน คราบจุลินทรีย์จะมีลักษณะเป็นคราบสีขาวอ่อนนุ่ม เมื่อมีปริมาณน้อยก็มักจะมองไม่เห็นเนื่องจากว่ามีสีที่กลืนไปกับตัวฟัน ถ้าหากคราบจุลินทรีย์ปล่อยทิ้งไว้นานจะทำให้เกิดการสะสมของแร่ธาตุจนเกิดเป็น “หินน้ำลาย หรือว่าหินปูน” ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดการสะสมของคราบจุลินทรีย์มากขึ้น เชื้อแบคทีเรียที่เกาะบนหินน้ำลายนี้ก็จะทำการผลิตสารพิษ ทำให้ร่างกายเกิดการตอบสนอง จนทำให้เกิดการอักเสบของเหงือกขึ้น โรคเหงือกอักเสบถ้าหากปล่อยเอาไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ในคนไข้บางรายก็อาจจะกลายเป็น “โรคปริทันต์อักเสบ” หรือที่สมัยก่อนเรียกกันว่าโรครำมะนาด ซึ่งเป็นสาเหตุหลัก ๆ ของการทำให้สูญเสียฟันในวัยผู้ใหญ่

รักษาโรคเหงือกอักเสบ

หากท่านใดที่มีอาการเหงือกอักเสบเรื้อรัง หรือว่าปวดฟันมากจนเกินที่จะรักษาได้ควรจะไปพบกับทันตแพทย์เพื่อที่จะได้ทำการรักษาได้อย่างถูกวิธี เช่น

  • ทันตแพทย์จะทำการจ่ายยาปฏิชีวนะให้ไปทานที่บ้าน เพื่อเป็นการรักษาภาวะเหงือกติดเชื้อ ซึ่งตัวยานี้อาจจะมาในรูปแบบของยาสำหรับทาน, ยาบ้วนปาก หรือว่ายาแก้เหงือกอักเสบ ที่ใช้ในการรักษาโรคเหงือกอักเสบโดยตรง
  • หากมีอาการที่รุนแรง หรือว่ามีภาวะเหงือกร่น ทันตแพทย์ก็จะทำการผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายเหงือก โดยการนำเนื้อเยื่อบริเวณช่องปากมาปลูกถ่าย เพื่อเป็นการทดแทนเนื้อเยื่อที่เสียหายให้กลับมาใช้งานได้และให้มีสภาพตามเดิม
  • โดยวิธีการขูดหินปูน และการเกลารากฟัน การขูดหินปูนจะเป็นการทำความสะอาดทั้งส่วนบนตัวฟัน และบนผิวรากฟันภายในร่องเหงือก วิธีนี้เป็นการกำจัดคราบจุลินทรีย์ และคราบหินปูนที่อยู่เหนือเหงือก และภายใต้เหงือก ด้วยเครื่องขูดหินปูนไฟฟ้า และอุปกรณ์เฉพาะทาง
  •  หากคนไข้มีภาวะมะเร็งในช่องปาก ทันตแพทย์ก็จะทำการฉายแสงทำบำบัด หรือว่าเคมีบำบัด หรืออาจจะใช้ทั้งสองวิธีนี้ร่วมกันเพื่อช่วยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  • การดูแลสุขภาพของช่องปากที่ถูกต้องและอย่างสม่ำเสมอ คือ การแปรงฟันที่ถูกวิธี และการใช้ไหมขัดฟัน หรือว่าใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดบริเวณซอกฟันในทุก ๆ วัน เพื่อเป็นการป้องกันการสะสมของคราบจุลินทรีย์ และคราบหินปูนที่บริเวณเหนือเหงือก และภายในร่องเหงือก

               แม้ว่าการรักษาโรคเหงือกอักเสบจะเสร็จสิ้นไปแล้ว ถ้าหากไม่ได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ โรคเหงือกอักเสบก็จะสามารถกลับเป็นใหม่ได้ง่าย ๆ ฉะนั้นหลังจากการรักษาแล้วควรได้รับการขูดหินน้ำลาย เพื่อเป็นการป้องกันการสะสมที่จะเกิดขึ้นใหม่ของคราบจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคเหงือกอักเสบในทุก ๆ 6 – 12 เดือน เป็นต้น

 

วิธีการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ

  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร เช้า – เย็น และจะต้องแปรงฟันให้ถูกวิธีด้วย
  • ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ที่มีสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ หรือการเลือกทานอาหารที่มีแคลเซียม และวิตามินซีสูง เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเหงือกและฟัน เพราะวิตามินซีจะช่วยทำให้แผลสมานตัวได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังสามารถช่วยลดปัญหาเลือดออกตามไรฟันได้อีกด้วย โดยสามารถทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี อย่างเช่น ผลไม้ตระกูลส้ม, บล็อกโคลี, กะหล่ำดอก, มะเขือเทศ และกะหล่ำขาวเป็นต้น
  • ควรต้องไปพบกับทันตแพทย์เพื่อให้ทันตแพทย์ตรวจสุขภาพของช่องปากทุก ๆ 6 เดือน เพื่อขอคำปรึกษา และ คำแนะนำในการดูแลสุขภาพของช่องปากได้อย่างถูกวิธี
  • ให้สังเกตอาการผิดปกติของฟันและเหงือก เพื่อจะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที ให้หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลมและอาหารที่มีรสหวานที่เป็นสาเหตุของการเกิดฟันผุ
  • ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีฤทธิ์อ่อน ๆ เพื่อช่วยลดการระคายเคือง หรือการใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดคราบสกปรกต่าง ๆ ที่อยู่ตามบริเวณซอกฟัน และร่องเหงือก

           ดังนั้นการรักษาโรคเหงือกอักเสบตั้งแต่แรกเริ่มเป็นสิ่งที่สำคัญ และยังเป็นการป้องกันได้ด้วยการดูแลสุขภาพของช่องปากตามที่ทันตแพทย์แนะนำในทุก ๆ วัน เพื่อสุขภาพของเหงือกที่ดีอย่างต่อเนื่อง

ตัวอย่างก่อน หลัง รักษาโรคเหงือกอักเสบ

ตัวอย่างเคส ก่อน-หลัง -โรคเหงือกอักเสบ/โรครำมะนาด

คำชมจากคนไข้จัดฟัน ในเครือคลินิกทันตกรรม สกายเทรน เด็นทัล กรุ๊ป

คลิก ดูรูปคำชมจากคนไข้ทั้งหมด

บรรยากาศในคลินิก

คลิก ดูรูปบรรยากาศภายในคลินิกทั้งหมด
กลับสู่หน้าหลัก

วีดีโอน่ารู้เกี่ยวกับการรักษาโรคเหงือกอักเสบ